วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการ60 ห้องA

สมาชิกการจัดการ60 ห้องA
อาจารย์ธภัทร   ชัยชูโชค       อาจารย์ปาล์ม
001   นางสาวกรรภิรมณ์    ติระพัฒน์    เอิง
002   นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์   อัด
003   นายเกียรติศักดิ์   ดำด้วง   น้องเอ็ม
004   นายจีรุตม์    ศรีราม      บิ๊ก
005   นายชนัตถ์   จันทร์วงศ์    น้องนัท 
006
007   นางสาวฐานิญา    ช่วยบำรุง    น้องพะแพง
008
009
010   นายตะวัน    แซ่ซำ     น้องการ์ด
011   นายธนพงษ์    ไชยนุรักษ์   บูม
012   นายธวัช     บัวแก่น    น้องบอล
013   นางสาวธิดารัตน์ เรืองเหมือน น้องแพร
014
015   นายนันทวุฒิ   ช่วยมณี     บ่าว
016   นายนิติกรณ์   ยอดสุวรรณ์   น้องน๊อต
017
018   นายประพัฒน์พงษ์    ทองเอม     นุ๊ก
019   นายปิยวิทย์   สังข์เศรษฐ์     น้องวิทย์
020
021   นางสาวเพชรลดา     เขียวสุวรรณ     น้องฝน
022
023   นายภาคภูมิ    ใจสมุทร    ภูมิ
024   นายมูฮัยมิน    ยะเลซู    มิน
025   นายยูโซฟ    ใบตาเยีะ     น้องกำนัน
026   นายรุซดีย์ ยะลิน น้องดี
027   นางสาวลัดดาวรรณ แก้วเจริญ น้องปาล์ม
028   นายวรายุทธ    ชูบุญลาภ     แม็ก
029
030   นางสาววารีซ่า   บาราสัน    น้องวาวา
031   นางสาวศเร๊าะต้า    หมัดบก   น้องต้า
032   นายศัตยา    แซ่เอียม   แดน
034   นายสถิตย์    พิชัยบัณฑิตย์    แสนดี
035 
036   นายสิทธิพร   บำเพิง     บูม
037   นางสาวสุทธิณี    บุญธรรม   น้องพิกุล
038   นางสาวสุธารส หมื่นชนม์ น้องแบ็มบี้
039   นางสาวสุภาพร   ทองแย้ม    แก้ว
040   นายโสภณ     สุวรรณรัศมี     ใหม่
041
042   นายอนุวัฒน์   ค้ำชู      น้องเอ็ม
043   นายอรรถชัย    ชูสังข์    กอล์ฟ
044   นายอลังการ    แท่งทอง   น้องจ๊ะจ๋า
089   นายสัณหวัช    ขวัญเย็น    มาร์ค

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560


ระบบสายพานลำเลียง

 ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน 






รถAGV

ทุกวันนี้รถลำเลียงอัตโนมัติหรือรถ AGV (Autatic Guide Vehicle) ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก  เนื่องจากรถ AGV สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการขนส่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการกระบวนผลิตแบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องใช้คนในการบังคับการเคลื่อนที่ของรถ  ทำให้สามารถประหยัดในเรื่องของแรงงานคนและเวลาได้เป็นอย่างดีแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีในรถ AGV ทุกคัน ในทุกวันนี้การชาร์ทไฟให้กับแบตเตอรี่ ยังคงใช้วิธีการต่อสายเพื่อชาร์ทไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลาในการใช้งานรถ  แต่ AGV Remote  Power Supply System  จะเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนทำให้ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการชาร์ทไฟให้กับแบตเตอรี่


วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในหลายแวดวงอุตสาหกรรมเพื่อวางตำแหน่งชิ้นงานต่างๆ อย่างรวดเร็วและแม่นยำสูง หุ่นยนต์บางแบบ (ไม่จำกัดแต่เพียงการเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉาก) มีส่วนประกอบข้อต่อหลายชิ้นส่วนเพื่อช่วยในการจำลองการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ ส่วนข้อต่อเหล่านี้ต้องมีความแม่นยำในการเหวี่ยงสูง และมีความทนทานสูงเพื่อให้มั่นใจได้ว่า การหยุดกะทันหันจะไม่ทำให้การทำงานผิดพลาด และผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ THK มีประสิทธิภาพและมีขนาดเล็กพอที่จะทำตามความต้องการเหล่านั้นได้
หุ่นยนต์ Closed-link 5 ข้อต่อ
หุ่นยนต์วางตำแหน่งที่ท้าทายข้อจำกัดของการเพิ่มความเร็วและการลดความเร็ว ส่วนนำทางนี้ต้องมีความแม่นยำและทนทาน และโครงสร้างพื้นฐานต้องแสดงถึงแรงที่ลดลงอย่างดีเยี่ยมระหว่างการหยุด ตลับลูกปืนชนิดวงแหวน Cross Roller Ring ถูกนำมาใช้ในส่วนเหวี่ยงเพื่อให้มีความแข็งแรงและมีความเร็ว
หุ่นยนต์ Closed-link 5 ข้อต่อ
หุ่นยนต์เชื่อมโลหะ
ตลับลูกปืนชนิดวงแหวน Cross Roller Ring ถูกนำมาใช้ในส่วนการเคลื่อนที่แบบหมุนของข้อต่อต่างๆ ในหุ่นยนต์เชื่อมโลหะในสายการผลิตของโรงงาน เนื่องจากตลับลูกปืนชนิดวงแหวน Cross Roller Ring เพียงอย่างเดียวมีความแข็งแรงทนทานเพียงพอในการรับน้ำหนักทิศทางการเคลื่อนที่ตามรัศมีและตามแกน ดังนั้นจึงสามารถใช้เพื่อพัฒนาข้อต่อขนาดกะทัดรัดของหุ่นยนต์ได้
หุ่นยนต์สเกลาร์
หุ่นยนต์สเกลาร์ถูกนำมาใช้ในการขนส่งและวางตำแหน่งชิ้นงานต่างๆ ภายในพื้นที่แคบๆ ระบบตลับลูกปืน LM Guide เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความแม่นยำสูงของหุ่นยนต์ ทั้งการเคลื่อนที่และการหมุนในแกน Z ซึ่งความเร็วสูงและมีระยะส่ายน้อยเป็นสิ่งสำคัญ
หุ่นยนต์สองแขน

หุ่นยนต์สองแขนที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเลียนแบบการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ ต้องสามารถทำงานที่ซับซ้อนซ้ำๆ กันได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ หุ่นยนต์ต้องทนทานและมีการตอบสนองด้วยความเร็วสูง ระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นของ THK และตลับลูกปืนชนิดวงแหวน Cross Roller Ring ของ THK ช่วยลดขนาดของหุ่นยนต์ และในขณะเดียวกันก็เพิ่มความแข็งแรงทนทานและความเร็วในการทำงานด้วย



หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด ผลงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคลื่อนที่ด้วยล้อตีนตะขาบ ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูงทำลายวัตถุต้องสงสัยพร้อมปฏิบัติภารกิจ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด โดยใช้ในงบประมาณเริ่มต้นปี 2548-2549 เป็นต้นมา (งบประมาณ 8 ล้านบาท) โดยรศ.ดร.ณัฏฐกา  หอมทรัพย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าคณะวิจัย
ผลงานวิจัยดำเนินการวิจัยและพัฒนาได้ต้นแบบหุ่นยนต์ ดังนี้ หุ่นยนต์ที่ได้จากงานวิจัยในเฟส 1 แบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการออกแบบและสร้างตัวต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์ เพื่อใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์ และเพื่อแสดงผลทางมอนิเตอร์  ได้ตัวต้นแบบ 2 แบบ คือแบบใช้ล้อยางและแบบตีนตะขาบ
หุ่นยนต์ทั้งสองตัวนี้ มีคุณลักษณะและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ  ได้แก่  น้ำหนักเบาประมาณ 50 กิโลกรัม และขนาดประมาณ 54 cm x 59cm x 62 cm.   แขนกลสามารถยกน้ำหนักได้ประมาณ 5 กิโลกรัม  หุ่นยนต์สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 3 ระดับ คือ ความเร็วสูง (0-16.8 km/h) ความเร็วปานกลาง (0-7 km/h) และความเร็วต่ำ (0-0.2 km/h)
ปืนฉีดน้ำความดันสูง สำหรับทำลายวัสดุต้องสงสัย   อุปกรณ์พื้นฐานที่ติดตั้ง ได้แก่ กล้อง เพื่อส่งภาพกลับมายังจอมอนิเตอร์ อุปกรณ์สำหรับส่งภาพสามารถเลือกควบคุมได้ทั้งแบบไร้สายและมีสาย โดยใช้กล้องวีดิโอที่สามารถส่งภาพ มายังชุดควบคุมโดยส่งภาพเวลาจริง (Real  Time)
หุ่นยนต์ที่ได้จากงานวิจัยในเฟส 2   สามารถควบคุมเส้นทางแบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์กู้ระเบิด  โดยใช้ระบบ GPS และเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  การเก็บและแสดงข้อมูลท่าทางการเคลื่อนที่ของแขนกล  เพื่อให้สามารถใช้งานในการควบคุมแขนกลและคำนวณจุดปลายสุดของการเคลื่อนที่
การใช้อุปกรณ์วัดแรงป้อนกลับ  การติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์วัดแรงได้ผลดี  สามารถวัดแรงที่มือจับของแขนกลกระทำต่อวัตถุได้  สามารถควบคุมแรงที่กระทำต่อวัตถุที่กำลังยกได้  ทำให้การจับและการเคลื่อนย้ายวัตถุทำได้อย่างเหมาะสม
หลักการทำงานของหุ่นยนต์พื้นฐาน จะมี 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN ) สำหรับการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ควบคุมและคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งในตัวหุ่นยนต์ การบังคับเส้นทางเดินจะใช้ Joy Stick หรือแผงบังคับ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งค่าการควบคุมการเดินทางไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ควบคุมเพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังหุ่นยนต์อีกครั้ง
นอกจากนี้ผู้ควบคุมหุ่นยนต์ยังสามารถเร่งความเร็วการเดินของหุ่นยนต์ได้ตามต้องการ เนื่องจากตัวบังคับที่ใช้ในการควบคุม เป็นระบบที่ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความเร็วได้สะดวก หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆไป ในการรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว
หน่วยวิจัยฯยังได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น  อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
อุปกรณ์การควบคุมเส้นทาง และเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างเส้นทางให้กับหุ่นยนต์ ทำให้ผู้ควบคุมหุ่นยนต์สามารถมองเห็นเส้นทางการเดินของหุ่นยนต์ได้จากจอคอมพิวเตอร์ แทนการเดินตามหุ่นยนต์เพื่อควบคุมเส้นทาง สามารถประยุกต์ใช้เป็นหุ่นยนต์ลาดตะเวณ หุ่นยนต์พ่นยาฆ่าแมลง หุ่นยนต์เพื่อการสำรวจสารพิษ
อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล โดยในส่วนนี้ได้พัฒนาโปรแกรมภายในตัวหุ่นยนต์ให้สามารถเก็บและบันทึกภาพสภาพแวดล้อมต่างๆ ในขณะปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor) ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ เปรียบเสมือนประสาทสัมผัสของมนุษย์ หุ่นยนต์จะคำนวณว่าสามารถยกวัตถุนั้นๆ ได้หรือไม่
อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ ทำให้เห็นวัตถุในเชิงลึกและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ยังผลให้การคำนวณพิกัดเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจากเดิมที่เป็นกล้อง 2 มิติ
อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวดตะปูเรือใบ   อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน    อุปกรณ์ x-ray    อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด   อุปกรณ์อื่นๆ ตามผู้ปฏิบัติงานต้องการ
สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานได้
มีต้นทุนของหุ่นยนต์แบบพื้นฐานราคา 2 แสนบาทต่อหุ่นยนต์ 1 ตัว เมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาสูงถึงตัวละกว่า 10 ล้านบาท จึงลดการนำเข้าและช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศได้เป็นอย่างมาก
หลังจากนำไปให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการ 2 ตัว ให้กับศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ




หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์
หุ่นยนต์ คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า
ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่ หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต














เครื่องจักรกล NC , DNC , CNC
ความหมายของ NC
NC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่
ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว
เครื่องจักรNC คืออะไร
สามารถทำงานโดยอัตโนมัติ , โปรแกรมการทำงานได้ , ควบคุมด้วยรหัส ที่ประกอบด้วย ตัวหนังสือ ตัวเลข และ สัญลักษณ์
ลักษณะงานที่เหมาะกับเครื่องจักรกลNC
ชิ้นงานต้องการความเที่ยงตรงสูง , มีความซับซ้อน มีการดำเนินงานหลายอย่างบนชิ้นงาน , การเปลี่ยนแปลงแบบมีบ่อยครั้ง
ชนิดของNCแกนหลักอยู่แนวนอน ชิ้นงานหมุน
–   Turning Machine ,Lathe เครื่องกลึง แกนหลักอยู่แนวตั้งฉากกับพื้น ใบมีดหมุน
–   Milling Machine
ส่วนประกอบของเครื่องจักรNC
Spindle เพลาหลัก (rpm)
Work table โต๊ะงาน (milling)
Tool ใบมีด
ระบบน้ำมันหล่อลื่น

ระบบเป่าทำความสะอาด



ความหมายของเครื่องจักรกล CNC
    CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ผลิต หรือขึ้นรูปชิ้นงานที่มีมาตรฐานสูง ผ่านระบบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องซีเอ็นซี ในขั้นตอนต่างๆ อย่างอัตโนมัติ แทนการใช้แรงงานคนควบคุมเครื่อง
การควบคุมเครื่องซีเอ็นซี แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. การควบคุมการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (Movement)
2. การควบคุมความเร็วของการเคลื่อนที่ (Speed)
หลักการทำงานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซี
เครื่องซีเอ็นซี (CNC) มีระบบควบคุมที่ป้อนข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของเครื่องผ่านแผงคีย์บอร์ด หรือแป้นพิมพ์ (Key Board) หรือเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จ ก็จะนำไปควบคุมให้เครื่องจักรกลทำงาน โดยอาศัยมอเตอร์ป้อน (Feed Motor) เพื่อให้แท่นเลื่อนเคลื่อนที่ตามคำสั่ง เช่น เครื่องกลึง ซีเอ็นซี (CNC Machine) ก็จะมีมอเตอร์ในการเคลื่อนที่อยู่ 2 ตัว หรือเครื่องกัด ซีเอ็นซี ก็จะมีมอเตอร์ป้อน 3 ตัว เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จ จะเปลี่ยนรหัสโปรแกรมเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน แต่เนื่องจากสัญญาณที่ออกจากระบบควบคุมนี้มีกำลังน้อย ไม่สามารถไปหมุนขับให้มอเตอร์ทำงานได้ ดังนั้น จึงต้องส่งสัญญาณนี้เข้าไปในภาคขยายสัญญาณของระบบขับ (Drive Amplified) และส่งสัญญาณต่อไปยังมอเตอร์ป้อนแนวแกนตามที่โปรแกรมกำหนด ทั้งความเร็วและระยะทาง การเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อนจะถูกโปรแกรมไว้ทั้งหมด เพื่อควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซี (CNC) และมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ตรวจสอบตำแหน่งของแท่นเลื่อนให้ระบบควบคุม เรียกว่า ระบบวัดขนาด (Measuring System) ซึ่งประกอบด้วยสเกลแนวตรง (Liner Scale) มีจำนวนเท่ากับจำนวนแนวแกนในการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกล ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับระยะทางที่แท่นเลื่อนเคลื่อนที่กลับไปยังระบบควบคุม ทำให้ระบบควบคุมรู้ว่าแท่นเลื่อนเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทางเท่าใด
จากหลักการควบคุมการทำงานดังกล่าว ทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีสามารถผลิตชิ้นงานให้มีรูปร่าง และรูปทรงให้มีขนาดตามที่เราต้องการได้ เนื่องจากการสร้างและการทำงานที่เหนือกว่าเครื่องจักรกลทั่วไป จึงทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันนี้ หากต้องการผลิตสินค้าให้ได้จำนวนมากๆ และลดจำนวนระยะเวลาการผลิตของสินค้า
ข้อดีของการใช้เครื่องจักร CNC มา3ข้อ
1. .มีความเที่ยงตรงสูงในการปฏิบัติงานเพราะชิ้นงานต่างๆ ต้องการขนาดที่แน่นอน
2.ทุกชิ้นงานมีคุณภาพสม่ำเสมอเท่ากันหมด เนื่องจากผลิตโดยใช้โปรแกรมในการสั่งเครื่องจักรกล CNC ทำงาน
3.โอกาสเกิดความเสียหาย หรือต้องแก้ไขชิ้นงานน้อยหรือแทบไม่มี เพราะชิ้นงานที่ทำจะใช้โปรแกรมในการควบคุม ถ้าผิดพลาดก็แก้ไขที่โปรแกรม
ข้อเสียของการใช้เครื่องจักร CNC มา3ข้อ
1.มีราคาแพงมากเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากยังไม่มีการผลิตเครื่องจักรกล CNC ภายในประเทศ
2.ค่าซ่อมแซมสูง เนื่องจากการซ่อมแซมมีความซับซ้อน เพราะทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ รวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้ผู้ชำนาญการ
3.อุปกรณ์และซอฟต์แวร์เสริม (Option) มีราคาสูงและต้องได้มาจากผู้ผลิตเครื่องจักรกล CNC นั้นๆ เท่านั้นต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิชาคณิตศาสตร์มากพอสมควรสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรม เพราะมิฉะนั้นจะไม่สามารถคำนวณหาค่าของจุดต่างๆได้


ระบบ Distribution Numerical Control: DNC
Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน
SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้

วีดีโอ

วีดีโอ เครื่องจักรกล NC




วีดีโอ เครื่องจักรกล CNC


วีดีโอ เครื่องจักรกล DNC

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ความสำคัญของระบบเครือข่ายไอทีต่อธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสามารถวางระบบเครือข่ายไอทีเองได้อย่างเหมาะสมกับขนาดธุรกิจ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ลดค่าใช้จ่าย และรองรับการดำเนินงานของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนี้การกำหนดมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร ที่จะใช้ภายในองค์การ
มีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย ด้านการบำรุงรักษา ที่แตกต่างกัน ควรสั่งซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ จากผู้แทนจำหน่ายรายเดียวกัน โดยเป็นอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเข้ากันได้กับ อุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด นอกจากนี้การใช้ซอฟต์แวร์ หรือยูทิลิตี้ที่มีการทำงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเก็บการตั้งค่าต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้สะดวกในการซ่อมบำรุงรักษา หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ หรือเครื่องที่ถูกฟอร์แมต
การสำรองข้อมูล
การสำรองข้อมูลในระบบถือเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจเพราะหากข้อมูลขององค์กรสูญหายย่อมจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก ในธุรกิจขนาดเล็กนั้น มีวิธีการพื้นฐานที่นิยม กันโดยทั่วไปในการสำรองข้อมูลอยู่ 2 วิธี คือ
การสำรองข้อมูลด้วย Hard disk ลูกที่ 2 โดยนิยมทำกันอยู่ 2 แบบ
- การสำรองข้อมูลด้วย Harddiskอีกลูก(External)คือลูกหนึ่งไว้ในโดยคัดลอกข้อมูลที่สำคัญไปไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ภายนอก และทำไปเก็บไว้ที่สถานที่ จัดเก็บข้อมูลสำรองที่ปลอดภัยโดยทำการBackupข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
- การทำ RIAD 1 คือการนำ harddisk 2 ลูกมาต่อกันเพื่อทำการสำรองข้อมูลทั้งสองลูกให้เหมือนกัน เรียกว่าการสำเนาข้อมูล (mirroring) โดยเขียนข้อมูลที่เพิ่มลงไปพร้อมกันทั้ง 2 ลูกแต่จะอ่านข้อมูลเพียงลูกเดียวถ้าข้อมูลที่อยู่ในลูกแรกเสียหายก็จะไปอ่านข้อมูลจากอีกลูกเน้นความปลอดภัยของข้อมูลมากกว่าความเร็วในการใช้งานและพื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพราะจะใช้งานได้เหมือนมี harddisk เพียงลูกเดียว เรียกวิธีการนี้อีกอย่างว่า
การใช้บริการสำรองข้อมูลแบบออนไลน์จากผู้ให้บริการ การสำรองข้อมูลแบบออนไลน์เหมาะสมกับธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งในด้านราคา และความสะดวก เพราะในธุรกิจขนาดใหญ่นั้น จะใช้การสำรองข้อมูลแบบเทปไว้นอกสถานที่ แต่จะไม่เหมาะกับ ธุรกิจขนาดเล็ก เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง



การใช้ฮาร์ดแวร์ในการรักษาความปลอดภัย ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ องค์กร
ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมักจะไม่ใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่าที่ควรอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายจาก ภัยคุกคามจึงทาง คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีทุกรูปแบบทั้งไวรัสคอมพิวเตอร์ มัลแวร์ รวมถึงแฮกเกอร์ ที่พยายามจะ เจาะเข้ามาในระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบที่มีความสำคัญ เช่น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการ เงิน บัตรเครดิต การทำธุรการรมทางการเงินออนไลน์ เป็นต้น
ดังนั้นหากเป็นธุรกิจขนาดกลางที่มีผู้ใช้งานเครือข่ายภายในตั้งแต่ 20-30 คนขึ้นไป ก็ควรจัด หาไฟร์วอลล์ที่เป็นฮาร์ดแวร์มาติดตั้ง ส่วนธุรกิจขนาดเล็ก ควรใช้ไฟร์วอลล์ ที่เป็นซอฟต์แวร์ ซึ่งจะประหยัดกว่า นอกจากนี้ยังจะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกัน ไวรัสคอมพิวเตอร์ และมัลแวร์ ควบคู่กันด้วยรวมถึงการกำหนดรหัสผ่าน ที่ยากต่อการคาด เดาการกำหนดให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ตามระยะเวลาที่กำหนดและที่สำคัญจะต้องทำการปิดการเชื่อมต่อ อุปกรณ์เชื่อมต่อ เข้าสู่เครือข่ายทุกครั้งก่อนกลับบ้านเพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้ามาขโมยข้อมูล หรือกระทำการ มิชอบด้วย
การใช้เครือข่ายส่วนบุคคลเสมือน (Virtual Private Network)
เมื่อมีความจำเป็นต้องเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรจากภายนอกส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เปิดให้บริการ ณ สถานที่นั้น ซึ่งจะมีความปลอดภัยต่ำ และง่ายต่อการ ถูกแฮกข้อมูล เพื่อความปลอดภัยจึงควรติดตั้ง VPN ภายในองค์กร หรือเช่าใช้บริการ SSL VPN จากผู้ให้บริการ ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลขององค์กร เป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัย จากทุกที่ทุกเวลา
การวางแผนและทดสอบอย่างรอบคอบในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งาน
ก่อนนำเทคโนโลยีหรือระบบใหม่มาใช้งาน จะต้องทำการทดสอบการทำงาน วิเคราะห์ในหลากหลายแง่มุม ทั้งด้านที่เป็นจุดแข็งจุดอ่อนหรือข้อจำกัดจนมั่นใจว่าฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ต่างๆสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่องค์กรต้องการ รวมถึง จะต้องมองไปใน อนาคตว่า ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เหล่านั้น สามารถรองรับการใช้งาน ในอนาคตเมื่อธุรกิจ เติบโตขึ้นด้วยหรือไม่

ข้อดี
      1. เพิ่มผลิตภาพ ลดค่าใช้จ่าย และรองรับการดำเนินงานของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อลดค่าใช้จ่าย ด้านการบำรุงรักษา ที่แตกต่างกัน
3. เน้นความปลอดภัยของข้อมูลมากกว่าความเร็วในการใช้งานและพื้นที่ในการเก็บข้อมูล

ข้อเสีย
1. ขาดความปลอดภัยในด้านการรักษาข้อมูลอยู่มากมีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาเอาข้อมูลได้
2. ไม่เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง

3. ความปลอดภัยของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายจาก ภัยคุกคามจึงทาง คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีทุกรูปแบบทั้งไวรัสคอมพิวเตอร์

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

เนื้อหาประจำวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

บทที่ 1   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 2   การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานอุตสาหกรรม
บทที่ 3   การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4   ระบบประมวลผล
บทที่ 5   เครื่องจักรกล  NC
บทที่ 6   หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
บทที่ 7   ระบบผลขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 8   ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 9   PLC/PC
บทที่ 10 คอมพิวเตอร์กับงานผลิต

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นางสาวสุภาพร   ทองแย้ม
ชื่อเล่น : แก้ว
รหัส  : 606705039
วันเดือนปีเกิด  18  มิถุนายน  2539
Email  :  kaew.mm1122@gmail.com
กรุ๊ปเลือก  :  โอ
ที่อยู่ :   55   ม.5   ต.ชะมวง   อ.ควนขนุน   จ.พัทลุง  93110
เบอร์โทรศัพท์  : 0828330321
จบมาจาก  :  วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
สาขา  :  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สิ่งที่ไม่ชอบ  :  แมว

สมาชิกการจัดการ60 ห้องA

สมาชิกการจัดการ60 ห้องA อาจารย์ธภัทร   ชัยชูโชค        อาจารย์ปาล์ม 001   นางสาวกรรภิรมณ์    ติระพัฒน์    เอิง 002    นายก้องเกียรติ ศิ...